หาคน,หางาน  
 


จำนวนผู้เข้าชม

บทความน่ารู้
รูปแบบขององค์ธุรกิจ
มือใหม่กับจดทะเบียนธุรกิจ
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
จดทะเบียนบริษัทจำกัด
ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จดเครื่องหมายการค้า
เปลี่ยน หจก.เป็นบริษัท
จดทะเบียนเลิกบริษัท
จดทะเบียนเลิก หจก.
ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
ทุนจดทะเบียน
ติดต่อเรา
เพื่อนบัญชีบริการ
1.จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
2.แปรสภาพห้างหุ้นส่วน
3.จดทะเบียนบริษัท
4.ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
5.จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
6.จดเครื่องหมายการค้า
7.บริการด้านจัดทำบัญชี
8.ค้นหาและจองชื่อนิติบุคคล
9.การเตรียมข้อมูลจดบริษัท
10.การเตรียมข้อมูลจด
ทะเบียนห้างหุ้นส่วน

11.การย้ายสำนักงาน,ย้ายที่อยู่
12.ใบเสนอราคาจดห้างฯ
13.ใบเสนอราคาจดบริษัท
14.ใบเสนอราคาเปลี่ยน.หจก.เป็นบริษัท
15.ตัวอย่างตราบริษัท,ห้าง
16.ตัวอย่างหนังสือยินยอม
17.ตัวอย่างรายงานการประชุม
18.การจดเลิกบริษัท
19.การจดเลิก หจก.
20.ที่อยู่จัดส่งเอกสาร
21.บัญชีธนาคาร
ร้านหนังสือออนไลน์
ค้นหาและจองชื่อนิติบุคคล
จดทะเบียนธุรกิจ
ค้นหาข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
ตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
ดาวน์โหลดแบบพิมพ์
แจ้งการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
แจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
ตรวจผู้ทำบัญชีบริษัท
ตรวจแจ้งชื่อผู้สอบบัญชี
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชี
รายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ขออนุญาตธุรกิจของคนต่างด้าว
กระดานข่าวกรมพัฒนาธุรกิจ
แบบนำส่งงบการเงิน(สปช.3)
แบบฟอร์มส่งงบการเงิน
หนังสือนำส่งบัญชีผู้ถือหุ้น
สำนักงานประกันสังคม
ความรู้เรื่องเรื่องภาษี
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีป้าย
การทำพินัยกรรม
ยื่นภาษีทางเน็ท
ตรวจชื่อผู้สอบภาษีอากร
ตรวจชื่อผู้สอบภาษีอากร
ตรวจขอคืนภาษีภงด.90,91
ขอเลขผู้เสียภาษีนิติบุคคล
ประมวลรัษฎากรออนไลน์
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
Download แบบพิมพ์
ปฎิทินภาษีอากร
ปฏิทินการจัดสัมมนาภาษี
ตรวจรายชื่อผู้จด Vat
แบบพิมพ์ประกันสังคม
สมาคมนักบัญชีฯ
สภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวมาตรฐานการบัญชี
ผู้ทำบัญชีขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพฯ
ผู้สอบบัญชีขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพฯ
อัตราแลกเปลี่ยน
ชื่อสาธารณกุศล
สวัสดีคะ
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  
.............. หลังจากที่มีการจดทะเบียนนิติบุคคลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งบริษัท และห้างหุ้นส่วน จะใช้เลขทะเบียนนิติบุคคล เป็นเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และเมื่อผู้ประกอบการมีความประสงค์ที่จะจดทะเบียนเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็มาดูรายละเอียดและหลักเกณฑ์ในการจดทะเบียนกันคะ


                        

ภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ แวต (VAT)

1.ภาษีมูลค่าเพิ่มคืออะไร คะ บางคนก็สงสัยคะ ว่า มันคืออะไร ก็คือภาษีตัวหนึ่ง หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แวต (VAT) เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 7
เราซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ เพื่อมาผลิตเป็นสินค้าราคา 100 บาท ก็จะต้องจ่ายภาษีเพิ่ม 7 บาท (เรียกว่า "ภาษีซื้อ) เมื่อผลิตเป็นสินค้าเสร็จแล้วเราก็ขายไปในราคา 300 บาท ตอนขายไปเราก็จะต้องคิดหรือบวกภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 21 บาท (เรียกว่า "ภาษีขาย") ซึ่งค่าภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บมานี้ จะต้องนำส่งหลวงหรือสรรพากร และเป็นเงินของผู้ซื้อสินค้าของเรา เราไม่ใช่คนจ่ายภาษี และเราผู้ขายมีหน้าที่ต้องนำส่งหลวงหรือไปจ่ายให้กับกรมสรรพากร แต่ก่อนนำไปจ่าย ถ้าเรามีภาษีซื้อ (ดังตัวอย่าง ภาษีซื้อ คือ 7 บาท) เราก็นำมาหักลบก่อนได้ ดังนี้ เราก็นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจำนวน 21-7 = 14 บาท เป็นต้น (ซึ่ง เงิน 14 บาท ก็คือเงินที่เก็บมาจากการขายสินค้า(ของลูกค้าเรา) นั้นเอง)
สรุป ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เก็บจากลูกค้า ที่เราขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่แท้จริงคือลูกค้าเรานั่นเอง

2.ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด
การจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือที่เรียกว่า VAT ปัจจุบันมีอัตรา 7 % ภาษีมูลค่าเพิ่มบางกิจการได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดเพราะเป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน เนื่องจากถ้าให้เจ้าของกิจการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีนี้จะถูกผลักไปที่ผู้บริโภค เช่น กิจการเกี่ยวกับการขนส่ง กิจการค้าผืชผลทางการเกษตร แต่บางครั้งเจ้าของกิจการไม่ทราบว่าต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เพราะดูก้ำกึ่ง ก็ควรสอบถามกับทางกรมสรรพากร แต่ถ้าหากใช้บริการสำนักงานบัญชี ซึ่งก็จะได้รับคำปรึกษาทางนี้ได้ บางกิจการที่ดูก้ำกึ่งเช่น กิจการจำหน่ายสุนัข และขายอุปกรณ์ในการดูแลสุนัข ต้องดูว่ารายได้หลักคืออะไร ถ้าหากขายอุปกรณ์เป็นรายได้หลัก ก็จะเข้าเกณฑ์ที่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม กิจการขายอาหาร ก็ไม่ใช่เป็นการขายพืชผลทางการเกษตร แต่เป็นการขายสินค้า ซึ่งก็คืออาหาร ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
หลักเกณฑ์ในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็คือ นิติบุคคลหรือผู้ประกอบการใด ที่มีรายได้ไม่เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ แต่หากมีความประสงค์จะขอเข้าจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก่อนก็ได้ (หรือพูดง่ายๆ ก็คือ จะจดหรือไม่ก็ได้) แต่ถ้าเกิน 1,800,000 บาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม มิฉะนั้นจะต้องถูกประเมินภาษี
ผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว สามารถออก ใบกำกับภาษี ให้กับลูกค้าได้
ดังนั้นจะพิจารณาว่า จะจดเข้าระบบภาษีมูลค่าเพิ่มดีหรือไม่ ให้พิจารณาจาก
1. ต้องการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าหรือไม่ หรือลูกค้าต้องการใบกำกับภาษีจากเรา ดังนั้นเราต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มแน่นอน (เพราะผู้มีสิทธิ์ออกใบกำกับภาษีได้ ก็คือผู้ที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเท่านั้น) ถึงแม้ว่าเรารายได้ไม่ถึง 1.8 ล้าน/ปีก็ตาม
2.มีรายได้ถึง 1,800,000 บาทต่อปีหรือไม่ ถ้าถึง ก็ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
3.พิจารณาว่า กิจการเรา ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ เช่น กิจการขนส่ง เป็นต้น
นอกจากที่กล่าวมาแล้ว บุคคลธรรมดา ที่รับงานส่วนตัว และให้บริษัทหรือนิติบุคคล หักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นค่าจ้าง ค่าบริการ ฯลฯ ถ้าหากรายได้เกิน 1,800,000 บาทต่อปี ก็ต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ต้องระวังเพราะถูกภาษีย้อนหลังกันเยอะ โดยส่วนใหญ่มักจะไม่รู้ว่า บุคคลธรรมดาต้องจดภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย

หลักฐานและเอกสารในการขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เอกสารที่ต้องใช้ดังนี้
นิติบุคคล(บริษัท,ห้าง)
1..สำเนาหนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์ ไม่เกิน 1 เดือนและใบสำคัญการจดทะเบียน เซ็นรับรองประทับตรา
2..สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการตามอำนาจในหนังสือรับรอง
3.สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีเป็นบริษัท)และบัญชีผู้หุ้น (บอจ.5)
4.สำเนารายงานการประชุมและข้อบังคับ(ถ้ามี)(กรณีเป็นบริษัท)
5.สำเนาสัญญาเช่า(กรณีเช่า) ผู้ให้เช่าต้องทำสัญญาเช่าในนามนิติบุคคล และต้องติดอากรให้เรียบร้อย (1000ละ1บาท/เดือน/ปี)
หรือหนังสือยินยอมจากเจ้าบ้านหรือเจ้าของ(ในกรณีที่ไม่มีเจ้าบ้าน)ของสถานที่ตั้งประกอบการ พร้อมหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ เช่น สัญญาซื้อขาย,โฉนดที่ดิน
6.-หนังสือมอบอำนาจและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีไม่อาจมาด้วยตนเอง)
7.แบบคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม(ภพ.01) (ผู้จดทะเบียนเตรียมให้)
สถานที่ประกอบการ
-กรณีเป็นคอนโด,ห้องชุด,อาคารชุด,อพาร์ทเม้นท์ ไม่สามารถจดทะเบียนใช้เป็นสถานประกอบการได้
8. สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ
7.สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมหรือผู้ให้เช่าแล้วแต่กรณี
ผู้ให้ความยินยอมหรือผู้เช่าคือ
-เจ้าบ้าน ปรากฎในทะเบียนว่าเป็น"เจ้าบ้าน
-เจ้าของ มีชื่อปรากฎในสัญญาซื้อขายว่า เป็นผู้ซื้อ (ในกรณีทะเบียนบ้านไม่มีคนอาศัยหรือเป็นเจ้าบ้าน)

8.แผนที่ตั้งและภาพถ่ายแสดงให้เห็นป้ายชื่อบริษัทและเลขที่สถานที่ตั้งสำนักงาน
(คลิกดูตัวอย่างการถ่ายภาพ)

อนึ่ง
ในวันจดทะเบียนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจต้องนำเอกสารตัวจริงทุกอย่างไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ด้วย ดังนี้
1.หนังสือรับรองพร้อมวัตถุประสงค์
2.หนังสือบริคณห์สนธิ (กรณีเป็นบริษัท)
3.รายงานการประชุม(กรณีเป็นบริษัท)
4.บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของกรรมการ,หุ้นส่วนผู้จัดการ(สำคัญ)
5.บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน
6.สัญญาซื้อขายหรือโฉนดที่ดิน
7.ทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ
 

สถานที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม  ในเขตกรุงเทพมหานคร
-ให้ยื่นที่ฝ่ายทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำนักงานภาษีสรรพากรเขตพื้นที่ (สพท.) ทุกแห่ง
-ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร http://www.rd.go.th
จังหวัดอื่น
-ให้ยื่นจดทะเบียนที่ตั้งสรรพากรอำเภอหรือให้ยื่นที่สำนักงานสรรพากรจังหวัด
-ยื่นขอจดทะเบียนผ่านอินเตอร์เน็ททางเว็บไซด์สรรพรกร http://www.rd.go.th
อนึ่ง
-ในการจดทะเบียนผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้น จะอนุมัติการจดทะเบียน ล่าช้าไปประมาณ 15 วันคะ

ใช้บริการสำนักงาน"เพื่อนงานและการบัญชี"
 ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมลฑล
-ค่าบริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ราคาเริ่มต้นที่ 2,000 บาทขึ้นไป (ขึ้นอยู่กับพื้นที่ระยะทาง คะ)
-ยื่นจดรวดเร็ว เอกสารพร้อมใช้เวลา 1 วันคะ
จังหวัดอื่น
-จังหวัดอื่นก็คิดตามจังหวัดคะว่าท่านมีสถานประกอบการจังหวัดอะไร

เป็นไงคะ การขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีขั้นตอนยุ่งยากนิดหนึ่ง ส่วนมากจะเป็นเรื่องของเอกสาร,สถานที่ประกอบการคะ
 สวัสดีคะ

 

 

Copyright © Friendjob and Accounting Co.,Ltd.
Contact

081-622-1890,ใช้อีเมล์แทน-jujydo@hotmail.com


(งานจดทะเบียน)081-622-1890,086-478-6126(คุณชัยพร)
(งานบัญชี)086-478-6130(คุณเรืองรัตน์)

jujydo@hotmail.com

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์เลขที่ 7100303000270