หาคน,หางาน  
 


จำนวนผู้เข้าชม

บทความน่ารู้
รูปแบบขององค์ธุรกิจ
มือใหม่กับจดทะเบียนธุรกิจ
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
จดทะเบียนบริษัทจำกัด
ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จดเครื่องหมายการค้า
เปลี่ยน หจก.เป็นบริษัท
จดทะเบียนเลิกบริษัท
จดทะเบียนเลิก หจก.
ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
ทุนจดทะเบียน
ติดต่อเรา
เพื่อนบัญชีบริการ
1.จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
2.แปรสภาพห้างหุ้นส่วน
3.จดทะเบียนบริษัท
4.ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
5.จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
6.จดเครื่องหมายการค้า
7.บริการด้านจัดทำบัญชี
8.ค้นหาและจองชื่อนิติบุคคล
9.การเตรียมข้อมูลจดบริษัท
10.การเตรียมข้อมูลจด
ทะเบียนห้างหุ้นส่วน

11.การย้ายสำนักงาน,ย้ายที่อยู่
12.ใบเสนอราคาจดห้างฯ
13.ใบเสนอราคาจดบริษัท
14.ใบเสนอราคาเปลี่ยน.หจก.เป็นบริษัท
15.ตัวอย่างตราบริษัท,ห้าง
16.ตัวอย่างหนังสือยินยอม
17.ตัวอย่างรายงานการประชุม
18.การจดเลิกบริษัท
19.การจดเลิก หจก.
20.ที่อยู่จัดส่งเอกสาร
21.บัญชีธนาคาร
ร้านหนังสือออนไลน์
ค้นหาและจองชื่อนิติบุคคล
จดทะเบียนธุรกิจ
ค้นหาข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
ตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
ดาวน์โหลดแบบพิมพ์
แจ้งการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
แจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
ตรวจผู้ทำบัญชีบริษัท
ตรวจแจ้งชื่อผู้สอบบัญชี
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชี
รายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ขออนุญาตธุรกิจของคนต่างด้าว
กระดานข่าวกรมพัฒนาธุรกิจ
แบบนำส่งงบการเงิน(สปช.3)
แบบฟอร์มส่งงบการเงิน
หนังสือนำส่งบัญชีผู้ถือหุ้น
สำนักงานประกันสังคม
ความรู้เรื่องเรื่องภาษี
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีป้าย
การทำพินัยกรรม
ยื่นภาษีทางเน็ท
ตรวจชื่อผู้สอบภาษีอากร
ตรวจชื่อผู้สอบภาษีอากร
ตรวจขอคืนภาษีภงด.90,91
ขอเลขผู้เสียภาษีนิติบุคคล
ประมวลรัษฎากรออนไลน์
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
Download แบบพิมพ์
ปฎิทินภาษีอากร
ปฏิทินการจัดสัมมนาภาษี
ตรวจรายชื่อผู้จด Vat
แบบพิมพ์ประกันสังคม
สมาคมนักบัญชีฯ
สภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวมาตรฐานการบัญชี
ผู้ทำบัญชีขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพฯ
ผู้สอบบัญชีขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพฯ
อัตราแลกเปลี่ยน
ชื่อสาธารณกุศล
สวัสดีคะ
การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนหรือเรียกชื่อย่อว่า หจ. 
..............เมื่อเราจะคิดจะทำธุรกิจเป็นของตนเอง แต่กิจการของเราขนาดเล็ก เราอยากมีรูปแบบองค์กรประเภท "ห้างหุ้นส่วน" ลองดูนะคะว่า วิธีการจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนหรือ หจ เป็นอย่างไรบ้าง วิธีการจดทะเบียนต่างๆตามขั้นตอน คะ


                        

หนังสือแนะนำ
                             


"ฉันเปิดบริษัทแล้วนะ,ฉันมีบริษัทเป็นของตนเองแล้ว"

แหม!!! นี่ก็เป็นคำพูดที่คนเปิดบริษัทแล้วมาพูดให้เราฟัง แต่ว่า บางคนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนแต่ชอบพูดว่า เป็นบริษัท อยู่เรื่อยๆนะ ควรเข้าใจใหม่นะคะว่า มันคนละอย่างกันนะ ทำให้หลายๆคนก็คิดอยากจะเปิดบริษัท กะเขาบ้าง แต่พิจารณาแล้วว่า ถ้าเราทำกิจการหรือธุรกิจเล็กๆ ไม่ใหญ่โตมาก มีหุ้นส่วน 2 คน ก็เลยอาจเลือกรูปแบบประเภท "ห้างหุ้นส่วน " ซึ่งมีอัตราค่าธรรมเนียมจะถูกกว่าบริษัท และขั้นตอนจดทะเบียนต่างๆ จะง่ายกว่าจดทะเบียนบริษัท แต่บางท่านก็ไม่รู้ขั้นตอนของกฎหมายหรือระเบียบต่างๆ เลยว่า จะเป็นอย่างไรบ้าง หรือท่านไม่อยากรับรู้ว่าจะทำอย่างไร ก็ใช้บริการ สถานที่รับจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนก็ได้นะคะ มีหลายแห่งทีเดียว รวมทั้งที่สำนักงาน"เพื่อนงานและการบัญชี" โดยเราแค่จัดเตรียมเอกสารและเซ็นเอกสารเท่านั้น เราก็มีธุรกิจประเภทห้างหุ้นส่วนแล้วคะ ราคาก็ไม่แพงคะ ถูกต้องตามกฎหมายแน่นอน
  รูปแบบองค์กรธุรกิจแบบ "ห้างหุ้นส่วน" มีขั้นตอนง่ายกว่าบริษัทคะ โดยมีการลงชื่อผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่สองคน ก็สามารถจดทะเบียนได้แล้วคะ ถ้าเรามีกิจการใหญ่ขึ้น ก็สามารถแปรสภาพจากห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทก็ได้ แต่ต้องปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายคะ ดังนั้นมาลองพิจารณาดูนะคะว่า "ห้างหุ้นส่วน"มีลักษณะเป็นอย่างไรบ้าง

 

ความน่าเชื่อถือ ห้างหุ้นส่วน คือ องค์กรทางการค้ารูปแบบหนึ่ง ซึ่งเหมาะสำหรับกิจการค้าที่มีขนาดเล็ก ได้รับความเชื่อถือน้อยกว่าบริษัท และโดยเฉพาะในการประกอบกิจการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากต่างประเทศจะคุ้นเคยกับรูปแบบ บริษัท มากกว่าประเภท ห้างหุ้นส่วน

องค์ประกอบหรือความหมายของห้างหุ้นส่วน
คือรูปแบบของการประกอบการที่มีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป(คนเดียวไม่ได้) ตกลงร่วมกัน และเพื่อกระทำกิจการค้าเพื่อวัตถุประสงค์ในการที่จะแบ่งผลกำไรระหว่างกัน จากการประกอบการดังกล่าว จึงนับว่าเป็นสัญญาระหว่างกันกับผู้เป็นหุ้นส่วนที่จะมาลงหุ้นด้วยกัน ดังนั้นสัญญาการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจึงต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังนี้
- ต้องมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปเป็นใครก็ได้ เช่น เป็นสามี-ภรรยา หรือเป็น นายกับบ่าว เป็นต้นและมีความสามารถตามกฎหมายที่จะเข้าทำสัญญาหรือตกลงกันได้
- ต้องมีการตกลงคือ มีการแสดงเจตนาในการเข้าเป็นห้างหุ้นส่วน
- มีการเข้ากัน คือ เข้าลงทุนร่วมกัน หรือเข้าเป็นหุ้นส่วนกัน
- เพื่อเข้าทำกิจการค้า เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะแบ่งผลกำไรกันจากการประกอบกิจการนั้น
- กิจการนั้นเป็นกิจกรรมร่วมกัน



ประเภทของห้างหุ้นส่วน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
  ห้างหุ้นส่วนสามัญคือ
ห้างหุ้นส่วนซึ่งอาจจะจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลกับนายทะเบียนห้างหุ้นส่วนบริษัท ของกรมพัฒนาธุรกิจหรือไม่จดทะเบียนก็ได้ กฎหมายไม่ได้บังคับไว้ แต่ถ้าจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะมีสภาพและได้ชื่อเป็น “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
และห้างหุ้นส่วนประเภทนี้ หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดร่วมกันในหนี้สินทั้งปวงของห้างหุ้นส่วนโดยไม่จำกัดจำนวน

ตัวอย่าง สมมุติว่า นาย ก.และนาย ข. ลงทุนทำกิจการร่วมกัน ใช้เงินลงทุน ประมาณ 5 แสนบาท นาย ก. ลงทุน 3 แสน นาย ข. ลงทุน 2 แสน ตั้งเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ดังนั้นหุ้นส่วนทุกคนก็จะเป็นหุ้นสวนไม่จำกัดความรับผิด เป็นผู้จัดการห้างหุ้นส่วน มีหน้าที่บริหารกันทุกคน ถ้าสมมุติว่า ห้างฯ ได้ไปก่อหนี้ขึ้นมา 1 ล้าน ดังนั้น หุ้นส่วนทุกคนรับผิดชอบต่อหนี้ของบุคคลภายนอก 1 ล้านบาท ส่วนภายในก็มาไล่เบี้ยกับหุ้นส่วนกันเอง ตามส่วนที่ลงทุน เป็นต้น

ดังนั้นห้างหุ้นส่วนสามัญจึงแบ่งออกเป็นอีกมี 2 ชนิดคือ(จดกับไม่จด)
(ก) ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่ได้จดทะเบียน)
(ข) ห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียน เมื่อจดทะเบียนแล้วก็เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”
ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญ
1. ห้างหุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบร่วมกัน
2. หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบโดยไม่จำกัด
3. คุณสมบัติของหุ้นส่วนเป็นสาระสำคัญ
ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
1. ต้องมีหุ้นส่วนอย่างน้อย 2 คน
2. หุ้นส่วนทุกคนต้องรับผิดชอบในหนี้สินทั้งสิ้นโดยไม่จำกัดจำนวน
3. หุ้นส่วนทุกคนต้องมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันได้แก่ เงิน ทรัพย์สิน แรงงานมาเข้าหุ้น
4. ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร
5. ต้องมีหุ้นส่วนผู้จัดการอย่างน้อย 1 คน
6. ต้องมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในราชอาณาจักร
7. ต้องมีตราสำคัญของห้างหุ้นส่วน
8. ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

วิธีการจัดตั้งห้างหุ้นส่วน

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ จะคล้ายการจัดตั้งกิจการเจ้าของคนเดียว ซึ่งในสัญญาจะต้องประกอบไปด้วยรายการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ชื่อและที่อยู่ของหุ้นส่วนทั้งหมด
2. ชื่อวัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน
3. ชื่อและสถานที่ตั้งของห้างหุ้นส่วน หากเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดต้องให้ชัดเจน
4. ระยะเวลาของการดำเนินการ
5. จำนวนทุนที่หุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุนซึ่งอาจจะเป็นเงิน
ทรัพย์หรือแรงงานซึ่งหากเป็นแรงงานมาลงทุนให้ระบุจำนวนเงินไว้ด้วยว่ามีค่าคิดเป็นเงินทุนเท่าใด


เอกสารที่ต้องใช้ในการจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ มีดังนี้
-สำเนาสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ (ผู้ร่วมประกอบการของห้างหุ้นส่วนสามัญที่จะตั้งขึ้นต้องมีอย่างน้อย 2 คนขึ้นไป)
- แบบ ล.ป.10.2 ขอแบบฟอร์มจากสรรพากร หรือ ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ก็ได้
-สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของบุคคลในห้างหุ้นส่วนสามัญแต่ละคน
- หมายเหตุ เอกสารที่เป็นสำเนา ต้องลงชื่อรับรองว่าถูกต้องด้วย
- นำเอกสารทั้งหมด ในข้อ 1 ไปยื่นขอจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญกับกรมสรรพาพื้นที่ ที่ห้างหุ้นส่วนสามัญจะตั้งอยู่
-เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร รับจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญ ก็จะออกบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น ก็เป็นอันสิ้นสุดขั้นตอนแล้ว
หน้าที่ทางภาษี
ในกรณีห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล มีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวน 30,000 บาท ให้ผู้มีอำนาจจัดการงานของห้างหุ้นส่วนสามัญ ยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น สำหรับเงินที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว โดยให้ผู้มีอำนาจจัดการงานของห้างหุ้นส่วนสามัญ รับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น จากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้น เสมือนเป็นบุคคลธรรมดาคนเดียวไม่มีการแบ่งแยก ทั้งนี้ผู้เป็นบุคคลในห้างหุ้นส่วนสามัญแต่ละคนไม่ต้องยื่นรายการเงินได้ สำหรับจำนวนเงินพึงประเมินดังกล่าว เพื่อเสียภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้นมีภาษีค้างชำระ ให้ผู้เป็นบุคคลในห้างหุ้นส่วนสามัญทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย ตามมาตรา 56 วรรคท้าย แห่งประมวลรัษฎากร ทั้งนี้ หน้าที่ทางภาษีของห้างหุ้นส่วนสามัญ จะเหมือนกับบุคคลธรรมดา โดยยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 เพื่อเสียภาษีเงินได้ประจำปี ภายในวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป และกรณีที่ ห้างหุ้นส่วนสามัญมีเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (5)(6)(7) หรือ (8) คณะบุคคลต้องมีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี โดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94 ภายใน 30 กันยายน ของทุกปี

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ต้องจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ดังนี้
1.เตรียมชื่อจดทะเบียน เตรียมชื่อจดทะเบียนสำหรับจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ไว้ประมาณ 3 ชื่อ เพื่อยื่นขอตรวจสอบเพื่อไม่ให้ซ้ำกันกับห้าง บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นๆ
2.ทำความตกลงระหว่างหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญต่างๆ
3.จำนวนเงินลงทุนว่า ใครจะลงทุนกันคนละเท่าไหร่
4.วัตถุประสงค์ของกิจการว่าจะประกอบธุรกิจอะไร
5.ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ถ้ามีสาขา ก็ต้องแจ้งด้วย
6.ชื่อที่อยู่ของหุ้นส่วน ทุกคน
7.สิ่งที่ลงหุ้นว่า เป็นอะไร จำนวนทุนที่หุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุนซึ่งอาจจะเป็นเงิน
ทรัพย์สินหรือแรงงานซึ่งหากเป็นแรงงานมาลงทุนให้ระบุจำนวนเงินไว้ด้วยว่ามีค่าคิดเป็นเงินทุนเท่าใด
8.ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
9.ข้อจำกัดหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
10. ดวงตราหรือตรายาง ของห้างฯ


การจดทะเบียนให้หุ้นส่วนทุกคนไปจดทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นๆ ไปจดทะเบียน ก็ได้


ผลการจดทะเบียนเมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็จะได้รับเอกสาร หนังสือสำคัญการจดทะเบียน หนังสือรับรอง และต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป


อนึ่ง การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)หรือห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล(จดทะเบียน) ประเภทนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้รับความนิยมกัน

2. ห้างหุ้นส่วนจำกัด
  ห้างหุ้นส่วนจำกัดคือ
ห้างหุ้นส่วนจำกัด คือ ห้างหุ้นส่วนที่ประกอบด้วยหุ้นส่วน 2 ประเภทคือ
1. ห้างหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนรับจะลงทุนในห้างหุ้นส่วนนั้น (Limited Partnership)
2. ห้างหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้สินของห้างหุ้นส่วนโดย ไม่จำกัดจำนวน (Unlmited Partnership)
พูดกันง่ายๆ ก็คือ ต้องประกอบไปด้วย หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดและจำกัดในหนี้สินของห้างฯ
ดังนั้น ลักษณะสำคัญของห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องมีหุ้นส่วน 2 ประเภทคือ
(ก) หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิด มีลักษณะดังนี้
1. ต้องรับผิดในหนี้สินทั้งหมดโดยไม่จำกัดความรับผิด
2. ต้องรับผิดร่วมกันในระหว่างหุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดด้วยกัน
3. คุณสมบัติของหุ้นส่วนเป็นสาระสำคัญ
4. สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
(ข) หุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด มีลักษณะดังนี้
1. รับผิดในหนี้สินของห้างฯเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่รับจะลงทุน
2. ไม่รับผิดในหนี้สินของห้างร่วมกัน
3. คุณสมบัติของหุ้นส่วนไม่เป็นสาระสำคัญ
4. ไม่สามารถเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการได้
ตัวอย่าง สมมุติว่า นาย ก.และนาย ข. ลงทุนทำกิจการร่วมกัน โดยตั้งเงินสำหรับการลงทุนในกิจการ ประมาณ 5 แสนบาท นาย ก. ลงทุน 4 แสน นาย ข. ลงทุน 1 แสน นาย ก. เป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ก็ได้เป็นผู้จัดการ มีหน้าที่บริหาร ส่วนนาย ข. เป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิด ไม่มีหน้าที่บริหาร แต่ก็สามารถดูและและทักท้วงในกิจการของห้างได้ ถ้าสมมุติว่า นาย ก. ได้ไปก่อหนี้ ขึ้นมา 7 แสน เจ้าหนี้ก็ฟ้องร้องให้ชำระหนี้ ในนามห้างฯและผู้จัดการ ก็คือนาย ก. ดังนั้นนาย ก. จะต้องรับผิดในหนี้ทั้งหมดคือ 7 แสน แล้วนาย ก. มีสิทธิไล่เบี้ยจากนาย ข. เพียง 1 แสนบาทเท่านั้น (เพราะนาย ข.จำกัดความรับผิดตามจำนวนที่ตนลงหุ้น คือ 1 แสนบาท) ส่วนหนี้ที่เหลือ นายก. ต้องรับทั้งหมด โดยไม่จำกัดจำนวน เป็นต้น

การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนจำกัด
ขั้นตอนการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ต้องจัดเตรียมข้อมูลและเอกสารต่างๆ ดังนี้
1.เตรียมชื่อจดทะเบียน เตรียมชื่อจดทะเบียนสำหรับจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วน ไว้ประมาณ 3 ชื่อ เพื่อยื่นขอตรวจสอบเพื่อไม่ให้ซ้ำกันกับห้าง บริษัท หรือนิติบุคคลอื่นๆ
2.ทำความตกลงระหว่างหุ้นส่วนในเรื่องสำคัญต่างๆ
3.จำนวนเงินลงทุนว่า ใครจะลงทุนกันคนละเท่าไหร่
4.วัตถุประสงค์ของกิจการว่าจะประกอบธุรกิจอะไร
5.ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ ถ้ามีสาขา ก็ต้องแจ้งด้วย
6.ชื่อที่อยู่ของหุ้นส่วน ทุกคน
7.สิ่งที่ลงหุ้นว่า เป็นอะไร จำนวนทุนที่หุ้นส่วนแต่ละคนนำมาลงทุนซึ่งอาจจะเป็นเงิน
ทรัพย์สินหรือแรงงานซึ่งหากเป็นแรงงานมาลงทุนให้ระบุจำนวนเงินไว้ด้วยว่ามีค่าคิดเป็นเงินทุนเท่าใด
8.ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ
9.ข้อจำกัดหุ้นส่วนผู้จัดการ (ถ้ามี)
10. ดวงตราหรือตรายาง ของห้างฯ


ผลการจดทะเบียนเมื่อจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้ว ก็จะได้รับเอกสาร หนังสือสำคัญการจดทะเบียน หนังสือรับรอง และต้องมีหน้าที่ตามกฎหมายต่อไป

อนึ่ง การจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ประเภทนี้ส่วนใหญ่นิยมกันจดทะเบียนมากที่สุด

การใช้บริการจดทะเบียนของสำนักงาน "เพื่อนงานและการบัญชี"

"เพื่อนงานและการบัญชี"ยินดีบริการรับจดทะเบียนจัดตั้งหุ้นส่วนให้แก่ท่านอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง ตามหลักกฎหมายและบัญชีในอนาคต พร้อมกับค่าบริการเป็นกันเองดังนี้
บริการจดทะเบียนจัดตั้งห้างหุ้นส่วนพร้อมตรายาง 1 อัน สำหรับหุ้นส่วนไม่เกิน 3 คน รวมทั้งค่าธรรมเนียม ราคา 3,500 บาท
ถ้าหุ้นส่วนเกิน3 คน คิดค่าธรรมเพิ่มคนละ 500 บาท
ถ้ารวมทั้งจดภาษีมูลค่าเพิ่ม ,และตรายาง 1 อัน ทั้งหมด ราคา 4,000 บาท
คลิกดู(ใบเสนอราคาค่าบริการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน)ที่นี่

การเตรียมเอกสารและข้อมูล เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง สามารถจัดเตรียม   เอกสารและข้อมูลต่างๆ
หรือ (พิมพ์แบบฟอร์มการเตรียมข้อมูลจดห้างหุ้นส่วน) ดังนี้
1.เตรียมชื่อที่จะขอจัดตั้ง ไว้สักประมาณ 3 ชื่อ เพื่อยื่นขอตรวจสอบ เพื่อไม่ให้ซ้ำกันกับห้างหรือบริษัทอื่น
2.วัตถุประสงค์ของกิจการ
3.จำนวนเงินลงทุนของผู้เป็นหุ้นส่วนแต่ละคนคนละเท่าไหร่
4.ใครเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ใครเป็นหุ้นส่วนกำจัดความรับผิดชอบ
5.สถานประกอบการที่ตั้งสำนักงาน เลขที่ หมู่ ถนน
6.รูปแบบตรายาง
7.สำหรับบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของหุ้นส่วนผู้จัดการ 3 ชุด หุ้นส่วนคนอื่นๆ คนละ 1 ชุด
8.แผนที่ตั้งสำนักงาน เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ชื่อผู้ติดต่อ
ถ้าต้องการจดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติมดังนี้
1. หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่ประกอบการ (คลิกดูตัวอย่างหนังสือยินยอม)หรือสัญญาเช่า(กรณีเช่า)ที่ตั้งสถานประกอบการ
ถ้าเป็นสัญญาเช่า ต้องติดอากรให้เรียบร้อย (พันละ 1 บาท/เดือน/ปี) เช่น
เช่าเดือนละ 3,000 บาท ระยะเวลา 1 ปี ติดอากร 36 บาท
และต้องเช่าในนามบริษัทฯหรือห้างหุ้นส่วนเท่านั้น
2. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิหรือความเป็นเจ้าของ ของผู้ให้ความยินยอมใช้สถานที่ประกอบการหรือให้เช่า
เช่น สัญญาซื้อขาย,โฉนดที่ดิน
3. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ให้ความยินยอมหรือให้เช่า
4. สำเนาบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน(กรณีที่มีเจ้าบ้านสถานที่ประกอบการไม่ตรงกับเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์)
5. แผนที่ตั้งสำนักงาน จำนวน 2 ชุด
6. ถ่ายรูปแสดงให้เห็นป้ายชื่อบริษัทและเลขที่สถานที่ตั้งสำนักงานและตัวอาคาร
และถ่ายห้องทำงาน Office อาจจะมีโต๊ะทำงาน โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซัก 2-3 รูป
 

เป็นไงคะ รูปแบบขององค์กรประเภทห้างหุ้นส่วน แล้วคุณละจะจดทะเบียนแบบไหนดีคะ
 สวัสดีคะ

 

 

Copyright © Friendjob and Accounting Co.,Ltd.
Contact

081-622-1890,ใช้อีเมล์แทน-jujydo@hotmail.com


(งานจดทะเบียน)081-622-1890,086-478-6126(คุณชัยพร)
(งานบัญชี)086-478-6130(คุณเรืองรัตน์)

jujydo@hotmail.com

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์เลขที่ 7100303000270