หาคน,หางาน  
 


จำนวนผู้เข้าชม

บทความน่ารู้
รูปแบบขององค์ธุรกิจ
มือใหม่กับจดทะเบียนธุรกิจ
จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
จดทะเบียนบริษัทจำกัด
ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
จดเครื่องหมายการค้า
เปลี่ยน หจก.เป็นบริษัท
จดทะเบียนเลิกบริษัท
จดทะเบียนเลิก หจก.
ประโยชน์ของการจัดทำบัญชี
ทุนจดทะเบียน
ติดต่อเรา
เพื่อนบัญชีบริการ
1.จดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
2.แปรสภาพห้างหุ้นส่วน
3.จดทะเบียนบริษัท
4.ขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษี
5.จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
6.จดเครื่องหมายการค้า
7.บริการด้านจัดทำบัญชี
8.ค้นหาและจองชื่อนิติบุคคล
9.การเตรียมข้อมูลจดบริษัท
10.การเตรียมข้อมูลจด
ทะเบียนห้างหุ้นส่วน

11.การย้ายสำนักงาน,ย้ายที่อยู่
12.ใบเสนอราคาจดห้างฯ
13.ใบเสนอราคาจดบริษัท
14.ใบเสนอราคาเปลี่ยน.หจก.เป็นบริษัท
15.ตัวอย่างตราบริษัท,ห้าง
16.ตัวอย่างหนังสือยินยอม
17.ตัวอย่างรายงานการประชุม
18.การจดเลิกบริษัท
19.การจดเลิก หจก.
20.ที่อยู่จัดส่งเอกสาร
21.บัญชีธนาคาร
ร้านหนังสือออนไลน์
ค้นหาและจองชื่อนิติบุคคล
จดทะเบียนธุรกิจ
ค้นหาข้อมูลจดทะเบียนธุรกิจ
ตรวจค้นข้อมูลงบการเงิน
ดาวน์โหลดแบบพิมพ์
แจ้งการสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
แจ้งการทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
ตรวจผู้ทำบัญชีบริษัท
ตรวจแจ้งชื่อผู้สอบบัญชี
ขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชี
รายชื่อผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ขออนุญาตธุรกิจของคนต่างด้าว
กระดานข่าวกรมพัฒนาธุรกิจ
แบบนำส่งงบการเงิน(สปช.3)
แบบฟอร์มส่งงบการเงิน
หนังสือนำส่งบัญชีผู้ถือหุ้น
สำนักงานประกันสังคม
ความรู้เรื่องเรื่องภาษี
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีป้าย
การทำพินัยกรรม
ยื่นภาษีทางเน็ท
ตรวจชื่อผู้สอบภาษีอากร
ตรวจชื่อผู้สอบภาษีอากร
ตรวจขอคืนภาษีภงด.90,91
ขอเลขผู้เสียภาษีนิติบุคคล
ประมวลรัษฎากรออนไลน์
จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
Download แบบพิมพ์
ปฎิทินภาษีอากร
ปฏิทินการจัดสัมมนาภาษี
ตรวจรายชื่อผู้จด Vat
แบบพิมพ์ประกันสังคม
สมาคมนักบัญชีฯ
สภาวิชาชีพบัญชี
ข่าวมาตรฐานการบัญชี
ผู้ทำบัญชีขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพฯ
ผู้สอบบัญชีขึ้นทะเบียนกับสภาวิชาชีพฯ
อัตราแลกเปลี่ยน
ชื่อสาธารณกุศล
สวัสดีคะ
มือใหม่กับจดทะเบียนธุรกิจ  
..............การประกอบธุรกิจการค้าอาจดำเนินการได้หลายรูปแบบ ทั้งโดยบุคคลคนเดียวเป็นเจ้าของกิจการโดยลำพัง หรืออาจดำเนินการโดยร่วมลงทุนกับบุคคลอื่นเป็นกลุ่มคณะก็ได้ การที่จะตัดสินใจเลือกดำเนินธุรกิจการค้าในรูปแบบใดนั้น ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่น ลักษณะของกิจการค้า เงินทุน ความรู้ความสามารถในการดำเนินธุรกิจเป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ นำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด อันนี้เป็นข้อแนะนะในการตัดสินใจว่า จะทำการค้ารูปแบบใด


                        

"อยากมีธุรกิจหรือกิจการเป็นของตนเอง จะจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจแบบไหนดี ?"

แหม!!! ชั่งเป็นคำถามยอดฮิตเสียจริง กับหลายๆคนที่อยากทำธุรกิจหรือกิจการเป็นของตนเอง แต่ท่านทราบหรือไม่ว่า การเริ่มต้นทำธุรกิจโดยการเป็นธุรกิจของประเภทหรือในรูปแบบบุคคลธรรมดา คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล ห้างหุ้นส่วนจำกัด และบริษัทจำกัด มีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร
  รูปแบบธุรกิจข้างต้นต่างมีทั้งส่วนดีส่วนเสีย ขึ้นกับความเหมาะสมของขนาดและประเภทธุรกิจ ดังนั้นก่อนการเริ่มต้นธุรกิจ เจ้าของธุรกิจควรตัดสินใจว่า ควรจะจัดตั้งธุรกิจแบบใดจึงจะเหมาะสมกับธุรกิจของท่าน เพื่อให้กิจการมีต้นทุนต่ำและมีกำไรสูงสุด ลองพิจารณาดูนะคะ

 

1. ธุรกิจบุคคลธรรมดา เป็นเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว ไม่ได้ร่วมลงทุนกับบุคคลอื่น ทำให้มีอิสระในการดำเนินงานและการตัดสินใจได้อย่างเต็มที่ ผลกำไรที่เกิดขึ้นก็ไม่ต้องแบ่งให้ใคร แต่เจ้าของธุรกิจจะต้องรับผิดชอบในหนี้สินของกิจการที่เกิดขึ้นไม่จำกัดจำนวน
  การจัดทำบัญชีและเสียภาษี ข้อดีของธุรกิจบุคคลธรรมดาคือไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี แต่ต้องเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าตามฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

2. ธุรกิจประเภท ห้างหุ้นส่วน ลักษณะของห้างหุ้นส่วน มาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า "อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคล ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ตกลงเข้ากัน เพื่อกระทำกิจการร่วมกันด้วยประสงค์จะแบ่งกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น"
ดังนั้นตามกฎหมายห้างหุ้นส่วนจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้
1. ต้องมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป เข้ามาเป็นหุ้นส่วน จะนำทุนมาเข้าหุ้นกันมากน้อยเท่าใดก็ได้
2. ตกลงเข้ากัน คือ บุคคลที่จะเข้าร่วมประกอบกิจการได้ทำสัญญาตกลงกันว่าจะประกอบการค้าร่วมกัน การตกลงกันนั้น จะต้องมีการแสดง เจตนาโดยแจ้งชัด อาจจะทำเป็นสัญญาปากเปล่า หรือ ลายลักษณ์อักษร ก็ได้ว่าจะเข้าเป็น "ห้างหุ้นส่วน" ทุนที่จะนำมาลง ได้แก่ เงินสด ทรัพย์สินอย่างอื่น หรือ แรงงาน คือ ใช้กำลัง สติปัญญา ความคิดแรงกายแทน
3. เพื่อการทำกิจกรรมร่วมกัน คือคู่สัญญา จะต้องมาร่วมแรงรวมใจและร่วมทุกข์กันเพื่อทำการตามที่ได้ตกลงไว้
4. เพื่อประสงค์กำไร คือ เป็นการตกลงใจทำงาน โดยมีจุดหมายปลายทางเพื่อผลกำไร อันได้เกิดจากกิจการที่ทำนั้น และผลกำไรจะได้นำมาแบ่งกัน ระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน แต่ถ้ากิจการไม่หวังผลกำไร กิจการนั้นไม่ถือว่าเป็นห้างหุ้นส่วน

  ห้างหุ้นส่วนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.ห้างหุ้นส่วนสามัญ (ไม่จดทะเบียน)
2.ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล (จดทะเบียน)
3.ห้างหุ้นส่วนจำกัด (ต้องจดทะเบียนเท่านั้น)

ห้างหุ้นส่วนสามัญ(ไม่จดทะเบียน) เป็นการตกลงทำกิจการร่วมกันและแบ่งกำไรกันระหว่างผู้เป็นหุ้นส่วน หุ้นส่วนทุกคนจะต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกในหนี้สินของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน ซึ่งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้กฏหมายไม่ได้บังคับให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จึงเสมือนมีสภาพเป็นคณะบุคคล ซึ่งหากเลือกจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" ซึ่งความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วน จะจำกัดเพียง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น และส่วนใหญ่ไม่เป็นที่นิยมจดทะเบียนกัน
  การจัดทำบัญชีและเสียภาษี การจัดทำบัญชีและเสียภาษี ไม่ต้องยุ่งยากในการจัดทำบัญชี เหมือนกรณีบุคคลธรรมดา แต่การเสียภาษีเงินได้ของคณะบุคคลจะเสียภาษีเงินได้เหมือนกับบุคคลธรรมดาที่แยกออกจากตัวบุคคล ถือเป็นบุคคลอีกคนหนึ่งตามมาตรา 56 วรรค(2) ของประมวลรัษฏากร นอกจากนี้เงินส่วนแบ่งกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ด้วย

ห้างหุ้นส่วนสามัญ (จดทะเบียน) การจัดตั้งห้างหุ้นส่วนชนิดนี้ เมื่อได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฏหมาย กับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า จะเรียกว่า "ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล" ซึ่งความรับผิดในหนี้ของหุ้นส่วน จะจำกัดเพียง 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกจากการเป็นหุ้นส่วนเท่านั้น และส่วนใหญ่ไม่เป็นที่นิยมจดทะเบียนกัน
  การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด การประกอบการในลักษณะนี้จะต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย และต้องใส่คำว่า "ห้างหุ้นส่วนจำกัด" ไว้หน้าชื่อห้างเสมอไปด้วย เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัดสินไทย โดยต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วน ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป และต้องประกอบด้วยหุ้นส่วนอยู่ 2 ประเภทคือ
1. ประเภทจำกัดความรับผิดชอบ หมายถึงเป็นหุ้นส่วน จำกัดความรับผิดชอบในหนี้สินที่เกิดขึ้น ไม่มีสิทธิเป็นผู้จัดการ
2. ประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ การไม่จำกัดความรับผิดชอบ หมายถึง ไม่จำกัดหนี้สินที่เกิดขึ้นทุกกรณีของห้างหุ้นส่วนและมีสิทธิที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ
ส่วนเรื่องการเบิกจ่ายเงินกับธนาคารของห้างฯ ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างหุ้นส่วนกันเองแล้วไปแจ้งกับธนาคาร ไม่เกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน
ข้อดีของห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. รวบรวมเงินทุน ความรู้ความสามารถจากผู้เป็นหุ้นส่วนได้มากขึ้น
2. ผู้มีเงินทุนยินดีจะลงทุนร่วมด้วย โดยเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิด ทำให้พ้นภาระรับผิดชอบในหนี้สินแบบลูกหนี้ร่วม
3. สามารถจะระดมบุคคลที่มีความเชียวชาญในสาขาใด ๆ มาเป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดได้
4. ได้รับความเชื่อถือจากบุคคลภายนอกมากขึ้น
5. เสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล
6. เป็นที่นิยมจดทะเบียน
ข้อเสียของห้างหุ้นส่วนจำกัด
1. การจัดตั้งมีความยุ่งยากมากขึ้น
2. หุ้นส่วนประเภทไม่จำกัดความรับผิดชอบ ต้องรับภาระหนี้สินไม่จำกัดจำนวน
3. เมื่อมีผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดตาย ล้มละลาย หรือลาออก ห้างหุ้นส่วนนั้นจะต้องเลิกกิจการและชำระบัญชีให้เรียบร้อย



ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด


  การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีเหมือนกรณีตั้งบริษัท และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ

3. บริษัทจำกัด การจัดตั้งกิจการจะต้องมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่า 3 คน (ตามกฎหมายใหม่ เมื่อก่อนต้องมีผู้ก่อการและผู้ถือหุ้นอย่างน้อยเจ็ดคน) โดยการแบ่งเงินลงทุนออกเป็นหุ้น มีมูลค่าหุ้นละเท่าๆกัน ผู้ถือหุ้นจำกัดความรับผิดไม่เกินจำนวนค่าหุ้นที่ยังส่งไม่ครบ ดำเนินโดยคณะกรรมการบริษัท ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือมากกว่า


ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทจำกัด


  การจัดทำบัญชีและเสียภาษี มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชี และเสียภาษีตามอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิ  

เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการเลือกรูปแบบองค์กร ต่างๆ

รายละเอียด
เจ้าของคนเดียว
ห้างหุ้นส่วน
บริษัท
หมายเหตุ
1. เงินลงทุน
มีเงินทุนจำกัด
ระดมทุนได้มากขึ้น
ระดมทุนได้ง่ายและมาก
-
2. การบริหารงาน
มีอำนาจเต็มที่
ต้องปรึกษากับหุ้นส่วน,การตัดสินใจตามความเห็นของหุ้นส่วน
บริหารโดยคณะกรรมการบริษัท, กรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้มีอำนาจ
-
3. ความรับผิดในหนี้สิน
เต็มจำนวน
เต็มจำนวน/จำกัด
เฉพาะมูลค่าหุ้นที่ยังชำระไม่ครบ
-
4. ผลกำไรขาดทุน
ไม่ต้องแบ่งใคร
เฉลี่ยให้ผู้เป็นหุ้นส่วน
จ่ายเป็นเงินปันผลตามจำนวนหุ้นที่ถือ
-
5. ภาษีเงินได้
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37%
ตามอัตราก้าวหน้า สูงถึง 37% ถ้าจดเป็นนิติฯ จะเสีย 15%-30% กรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี
อัตราร้อยละ15-30% ของกำไรสุทธิ (SME เสียภาษีตามอัตราก้าวหน้า 15%-30%) ในกรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษี
ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล
6. ความน่าเชื่อถือ
น้อย
ปานกลาง
มาก
-
7. อัตราค่าธรรมเนียม
ประมาณ 50 บาท
ประมาณ 1,050 บาท
ประมาณ 5,000 บาท
ขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล
8. การจัดทำบัญชี
ยื่น 90,91 ถ้ามีจด Vat ยื่น ภพ.30
ยื่น ภงด.50,51,ยื่น หัก ณ ที่จ่าย
ถ้าจด Vat ยื่น ภพ.30
ยื่น ภงด.50,51,ยื่น หัก ณ ที่จ่าย
ถ้าจด Vat ยื่น ภพ.30
-
9. ผู้รับรองบัญชี
ไม่มี
CPA หรือ TA
CPA
(CPA : Certified Public Accountant)ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
(TA : Tax Audittor) ผู้สอบบัญชีภาษีอากร

เป็นไงคะ ท่านพิจารณาแล้วเห็นกิจการประเภทไหนจะเหมาะสมกับธุรกิจของคุณ ลองพิจาณาดูนะคะ ขอให้ โชคดีคะ ร่ำรวยกันทุกๆคนคะ
 สวัสดีคะ

 

 

Copyright © Friendjob and Accounting Co.,Ltd.
Contact

081-622-1890,ใช้อีเมล์แทน-jujydo@hotmail.com


(งานจดทะเบียน)081-622-1890,086-478-6126(คุณชัยพร)
(งานบัญชี)086-478-6130(คุณเรืองรัตน์)

jujydo@hotmail.com

ทะเบียนพาณิชย์อิเล็คทรอนิคส์เลขที่ 7100303000270