..หลังจาก จดทะเบียนบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน ผู้ประกอบการต้องรู้ถึงหน้าที่ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน เพื่อให้การประกอบธุรกิจนั้นประสบผลสำเร็จ นำมาซึ่งผลประโยชน์และกำไรสูงสุด และไม่ให้มีโทษปรับทางอาญา และภาษีต่างๆ เป็นข้อแนะนะคะ

หน้าที่ของบริษัทและห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

1. ต้องจัดให้มี “ผู้ทำบัญชี” ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องตามพรบ.บัญชี พ.ศ. 2543 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีของบริษัทละ 1 คน เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของนิติบุคคล ทั้งนี้อาจเป็นพนักงานของนิติบุคคล ผู้รับทำบัญชีอิสระ หรือสำนักงานรับทำบัญชีก็ได้
การเลือกผู้จัดทำบัญชี ควรเลือกผู้ทำบัญชีที่ได้รับอนุญาต และขึ้นทะเบียนกับกองบัญชี กรมพัฒนาธุรกิจการค้า และควรมีประสบการณ์ในการทำบัญชีเป็นอย่างดี เพื่อทำให้ไม่ต้องมีเสียภาษีย้อนหลังด้วย

2. จัดทำบัญชีตามกฏหมาย นับตั้งแต่วันที่ได้รับจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ชนิดของบัญชีที่ต้องจัดทำได้แก่
3.1 บัญชีรายวัน ได้แก่ บัญชีเงินสด บัญชีธนาคาร บัญชีรายวันซื้อ บัญชีรายวันขาย บัญชีรายวันทั่วไป
3.2 บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้และค่าใช้จ่าย ลูกหนี้ เจ้าหนี้
3.3 บัญชีสินค้า สต๊อกสินค้า
3.4 บัญชีรายวันและแยกประเภทอื่นตามความจำเป็น
การจัดทำบัญชี การจัดทำบัญชี ต้องจัดทำให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี เพื่อจะไม่มีปัญหาในภายหน้า

3. ส่งมอบเอกสารประกอบการลงบัญชี  ให้แก่ “ผู้ทำบัญชี” ให้ครบถ้วนถูกต้อง เพื่อผู้ทำบัญชีจะได้บันทึกบัญชีครบถ้วนสมบูรณ์
4. จัดให้มีการปิดบัญชี  ครั้งแรกภายใน 12 เดือน และปิดบัญชีทุกรอบ 12 เดือน นับแต่วันปิดบัญชีครั้งก่อน
ดังนั้น บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน จะต้องมีรอบบัญชี ถ้าเป็นบริษัท อาจจะมีที่ข้อบังคับของบริษัท แต่ถ้าเป็นห้างหุ้นส่วน คุณต้องตั้งรอบบัญชีขึ้นมา เช่น โดยทั่วไปจะตั้ง 1 มกราคม -ธันวาคม หรือจะตั้งชนรอบก็ได้ เช่น เปิดบริษัท วันที่ 1 กรกฎาคม ตั้งรอบ 1 กรกฎาคมถึง30 มิถุนายน ก็ได้ (ไม่เป็นที่นิยมกัน)
มีข้อคิดกันคะ เช่น คุณตั้งรอบบัญชี 1 มกราคม-31 ธันวาคม คุณเปิดบริษัท เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ฉะนั้นรอบบัญชีรอบแรกจะเป็น 1 กรกฎาคม -31 ธันวาคม เป็นต้น รอบบัญชีต่อไป ถึงจะเป็น 1 มกราคม-31ธันวาคมกันคะ

5. จัดทำงบการเงิน บริษัทจะต้องทำงบการเงินตามรอบบัญชีของบริษัทอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีกำหนด และงบการเงินบริษัทต้องมีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบ แล้วนำเสนอที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นอนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือน นับแต่วันปิดรอบปีบัญชี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักบริการข้อมูลธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัด ภายใน 1 เดือน นับตั้งแต่วันอนุมัติงบการเงิน ทั้งนี้รวมถึง บริษัท ที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ส่วนสรรพากรต้องยื่น ภงด.50 ภายใน 150 วัน นับจากสิ้นสุดรอบบัญชี มิฉะนั้นก็จะโดนปรับอาญาด้วยเช่นกัน
ส่วนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ส่วนห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนจะต้องทำงบการเงินตามรอบบัญชีของห้างหุ้นส่วนอย่างน้อยครั้งหนึ่งทุกรอบสิบสองเดือน เช่นกัน ซึ่งงบการเงินดังกล่าวจะต้องมีรายการย่อตามที่อธิบดีกำหนด และงบการเงินของห้างหุ้นส่วนต้องมีผู้สอบบัญชีอย่างน้อยหนึ่งคนตรวจสอบหรือ ก็จะเป็น”ผู้สอบบัญชีภาษีอากร” ก็ได้ และต้องยื่นงบการเงินภายใน 5 เดือน นับแต่วันปิดบัญชี ทั้งนี้รวมถึง ห้างหุ้นส่วนที่แม้ว่าจะยังมิได้ประกอบกิจการก็ตาม จะต้องส่งงบการเงินด้วย มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท ส่วนสรรพากรต้องยื่น ภงด.50 ภายใน 150 วัน นับจากสิ้นสุดรอบบัญชี มิฉะนั้นก็จะโดนปรับอาญาด้วย เช่นกัน

6. เก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี โดยเก็บรักษาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งเจ้าหน้าที่อาจเรียกตรวจบัญชีภาษีอากรอีกก็ได้

7. จัดทำบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ” (เฉพาะกรณีบริษัทจำกัด) ณ วันที่ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นและให้นำส่งต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกรุงเทพมหานคร หรือที่สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดแล้วแต่กรณี ภายใน 14 วัน นับจากวันที่ประชุม มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

8. ต้องจัดให้มีการประชุมใหญ่สามัญ (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) ภายหลัง 6 เดือน นับแต่วันจดทะเบียน เป็นนิติบุคคล และจัดประชุมครั้งต่อไปอย่างน้อย 1 ครั้ง ทุกระยะเวลา 12 เดือน

9. ต้องจัดทำใบหุ้น (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) มอบให้ผู้ถือหุ้นของบริษัท มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

10. ต้องจัดทำสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัท (เฉพาะกรณี บริษัท จำกัด) มิฉะนั้นมีความผิดต้องระวางโทษ ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท

11. การดำเนินการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมหรือเลิกและชำระบัญชี ในกรณีที่ บริษัท จำกัด หรือห้างหุ้นส่วนนั้นได้ตกลงที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรายการใด ๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นอย่างอื่น หรือผู้ถือหุ้น/ผู้เป็นหุ้นส่วนประสงค์จะเลิกกิจการ ก็จะต้องไปดำเนินการขอจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมรายการนั้น ๆ หรือจดทะเบียนเลิกและเสร็จการชำระบัญชี ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทที่ห้างนั้นมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ การจดทะเบียนจัดตั้งและแก้ไขเพิ่มเติมจะต้องดำเนินการตามวิธีและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายและระเบียบของทางราชการได้กำหนดไว้

12. ต้องยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ต้องมีหน้ายื่นภาษีภาษีมูลค่าเพิ่มทุกสิ้นเดือน ไม่เกิน วันที่ 15 ของเดือนถัดไป มิฉะนั้นจะมีโทษปรับและเงินเพิ่มต่างๆ และยังมีภาษีอืนๆ เช่น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ประกอบการควรจะวางแผนด้านภาษีแต่เนิ่นๆๆ เพื่อไม่ต้องมาเสียค่าปรับ หรือเงินเพิ่มใดๆ

เป็นไงคะ ดูแล้วหน้าที่ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน มีมากมายเหลือเกิน แต่ถ้าท่านใช้บริการของสำนักงานบัญชี ภาระเหล่าก็จะหมดไป เลยคะ
 สวัสดีคะ